วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขนมครก

สูตรขนมหวานไทย : ขนมครก เครื่องปรุง + ส่วนผสม ขนมหวานไทย + ส่วนผสมทำตัวแป้ง + * แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง * ข้าวสุก 1/2 ถ้วยตวง * น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง * มะพร้าวขูด 1/2 ถ้วยตวง * เกลือป่น 1 ช้อนชา * มันหมูห่อผ้าขาว (เช็ดหลุมเตาก่อนหยอดตัวแป้ง, อาจใช้น้ำมันพืชแทนได้) * ต้นหอมซอย, เมล็ดข้าวโพด, เผือก, ฟักทอง (สำหรับโรยหน้าขนมครก) + ส่วนผสมทำกะทิหยอดหน้า + * หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง * น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง * เกลือป่น 1 ช้อนชา วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. ทำตัวแป้งก่อน โดยเอาข้าวสารซาวให้สะอาด ผสมกับข้าวสุก, แป้งข้าวเจ้า, มะพร้าว และเกลือ ใส่กาละมังพักไว้ 2. ต้มน้ำให้เดือด แล้วเอามาผสมในกาละมังที่ใส่ส่วนผสมไว้ ใช้ไม้พายคนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันทั่ว 3. ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาไปโม่ก็จะได้แป้งขนมครกตามต้องการ 4. ทำกะทิหยอดหน้าโดยผสมหัวกะทิ, น้ำตาลทรายและเกลือป่นเข้าด้วยกัน เสร็จแล้วพักไว้ 5. วิธีทำ นำกระทะหลุมที่เตรียมไว้ตั้งไฟจนร้อนได้ที่ จึงเช็ดหลุมด้วยน้ำมันจากนั้นจึงหยอดแป้งลงไป (อย่าหยอดจนเต็ม เพราะต้องหยอดหน้ากะทิภายหลัง) ปิดฟาทิ้งไว้จวนสุกจึงเปิดฝาออกและหยอดด้วยหน้ากะทิที่เตรียมไว้ ถ้ามีต้นหอมหรืออย่างอื่นเพิ่มเติมก็โรยลงบนหน้ากะทิ ปิดฝารอสักพักจนสุกจึงแคะออก ควรทานขณะร้อนจะรสชาตดีกว่าทิ้งไว้จนเย็น

ขนมชั้น

สูตรขนมหวานไทย : ขนมชั้น เครื่องปรุง + ส่วนผสม ขนมหวานไทย * แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง * แป้งท้าวยายม่อม 2 ถ้วยตวง * น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง * น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง * กะทิ 6 ถ้วยตวง * น้ำดอกอัญชัญ 2 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำใบเตยคั้นสด, หรือใช้สีผสมอาหารตามแต่สีที่ต้องการ) วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. นำดอกอัญชันล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นใส่น้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเตรียมน้ำดอกอัญชัญ กรณีต้องการทำสีเขียวจากใบเตย ก็นำเอาใบเตยไปล้างให้สะอาดและนำไปปั่นใส่น้ำและกรองด้วยผ้าขาวบาง กรณีต้องการสีอื่น อาจใช้สีผสมอาหารแทน 2. นำน้ำลอยดอกมะลิไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ผสมน้ำตาลทรายลงไป คนจนละลายดีเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น 3. นำแป้งทั้งสองชนิด ผสมกับกะทิ นวดให้เหนียว จากนั้นใส่น้ำลอยดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลแล้ว (ขั้นตอนที่ 2) ลงไปผสมให้เข้ากัน 4. แบ่งแป้งที่ผสมแล้วออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งไว้ทำสีขาว และส่วนที่สอง ไว้ทำสีม่วงโดยเติมน้ำดอกอัญชัน (น้ำใบเตยหรือสีผสมอาหาร)ลงไปคนให้เข้ากัน 5. นำถาดที่ต้องการ (หรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้) ใส่บนลังถึงตั้งบนไฟแรง ๆ พอน้ำเดือดเปิดฝา ตักแป้งสีขาวเทใส่ลงในถาดเกลี่ยให้ทั่วถาดบางที่สุด ปิดฝาเพื่อให้สุกประมาณ 5 นาที เปิดดูแป้งจะมีลักษณะใส จากนั้นตักแป้งสีม่วง (หรือสีที่ผสมลงไป) ใส่ลงไป อีก ทำสลับกันจนแป้งหมด (เคล็ดลับ : ควรใช้ภาชนะที่มีความจุเท่ากันในการตวงแป้งเทแต่ละชั้น เพื่อที่จะได้แป้งที่มีความหนาเท่า ๆ กัน) 6. นึ่งจนขนมสุกทั้งหมด แล้วยกลงทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 2 ชั่วโมงจึงตัดเป็นชิ้นเพื่อเสริฟ (เคล็ดลับ : ก่อนที่จะเทแป้งเพื่อทำชั้นต่อไปทุกครั้ง จะต้องแน่ใจว่าขนมในชั้นล่างนั้นสุกแล้วจริง ๆ ไม่เช่นนั้น แป้งชั้นนั้นจะไม่สุกเลย ถึงแม้จะใช้เวลานึ่งนานเท่าใดก็ตาม)

ฝอยทอง

สูตรขนมหวานไทย : ฝอยทอง เครื่องปรุง + ส่วนผสม * ไข่เป็ด 5 ฟอง * ไข่ไก่ 5 ฟอง * น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วยตวง * น้ำลอยดอกมะลิ 1 1/2 ถ้วยตวง (หรือน้ำเปล่า) * ไข่น้ำค้าง 2 ช้อนโต๊ะ(ไข่ขาวส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ที่ติดอยู่กับเปลือกด้านป้าน) * น้ำมันพืช 1 ช้อนชา * กรวยทองเหลืองหรือกรวยใบตอง (สำหรับโรยไข่ในกระทะ) * ไม้แหลม (สำหรับตักและพับฝอยทองในกระทะ) วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. ต่อยไข่ไก่และไข่เป็ด เลือกเอาเฉพาะไข่แดง นำออกมากรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อรีดเอาเยื่อออก 2. ผสมไข่แดง, ไข่น้ำค้างและน้ำมันพืชเข้าด้วยกัน คนจนผสมกันทั่ว 3. นำน้ำลอยดอกมะลิผสมกับน้ำตาลในกระทะทองเหลืองและนำไปตั้งไฟร้อนปานกลาง รอจนเดือด 4. นำส่วนผสมไข่แดงใส่ลงไปในกรวยและนำไปโรยในน้ำเชื่อมที่เดือด ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีจนไข่สุกจึงใช้ไม้แหลม สอยขึ้นและพับให้เป็นแพตามต้องการ 5. จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างทางเล่นในวันสบายๆ

กล้วยทอด

สูตรขนมหวานไทย : กล้วยทอด เครื่องปรุง + ส่วนผสม * กล้วยน้ำว้าห่าม 1 หวี * แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย * แป้งสาลี 1/4 ถ้วย * เกลือ 1/2 ช้อนชา * ผงฟู 1 ช้อนชา * งาขาวคั่ว (ปริมาณตามความชอบ) * มะพร้าวขูดขาว 1/2 ถ้วย * น้ำตาลปี๊บ 1/2 ถ้วยตวง * หัวกะทิ 1/2 ถ้วย * น้ำปูนใส 1/4 ถ้วย * ใบเตย 3-5 ใบ * น้ำมันสำหรับทอด วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. นำกล้วยมาปอกเปลือกและหั่นตามยาวเป็นชิ้นบางๆ หนึ่งลูกควรหั่นให้ได้อย่างน้อย 3 ชิ้น 2. นำแป้งข้าวเจ้า, แป้งสาลี, เกลือ, ผงฟู, น้ำตาลปี๊บ, งาขาว, มะพร้าวขูด, น้ำปูนใสและหัวกะทิ ผสมเข้าด้วยกันในชามขนาดใหญ๋ คนจนแป้งและน้ำตาลละลายดี ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันเป็นเนื้อเดียว 3. ใส่น้ำมันลงในกระทะ และนำไปตั้งบนไฟค่อนข้างแรง รอจนน้ำมันเดือด จึงใส่ใบเตยลงไปทอดก่อนให้น้ำมันหอม 4. นำกล้วยที่หั่นเตรียมไว้ในขั้นตอนที่หนึ่งชุบแป้งแล้วนำไปลงทอดจนเหลืองสุกและกรอบ จึงตักออกมาสะเด็ดน้ำมัน 5. เรียงจัดใส่จาน และเสริฟเป็นของว่างทานเล่น

ขนมถ้วย

สูตรขนมหวานไทย : ขนมถ้วย เครื่องปรุง + ส่วนผสม ส่วนผสมทำตัวขนมถ้วย * แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วย * แป้งเท้ายายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ * หางกะทิ 1 ถ้วย * น้ำตาลปี๊บ 1/2 ถ้วย * น้ำใบเตย 1/4 ถ้วย ส่วนผสมทำหน้าขนม * แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ * หัวกะทิ 1 ถ้วย * เกลือ 1/2 ช้อนชา วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. เตรียมทำตัวขนมโดย นำหางกะทิไปผสมกับแป้งข้าวเจ้า, แป้งเท้ายายม่อม, น้ำตาลปี๊บและน้ำใบเตย นวดจนเข้ากันดี นำไปกรองด้วยผ้าข้าวบางและพักไว้ 2. เตรียมทำหน้าขนมโดยนำหัวกะทิผสมกับแป้งข้าวเจ้าและเกลือ คนจนละลายดีจึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง และทิ้งไว้ 3. ตั้งหม้อนึ่งรอจนน้ำเดือดจึงเรียงถ้วยตะไลลงไป นึ่งจนถ้วยตะไลร้อน จึงเริ่มหยอดตัวขนม (ที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1) ลงไปประมาณ 3/4 ถ้วยตะไล จากนั้นจึงปิดฝาหม้อและนึ่งทิ้งไว้ประมาณ 3 - 5 นาที จากนั้นจึงหยอดหน้าขนม (ที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 2) ลงไปในถ้วยตะไล จนเต็มและนึ่งต่อไปอีกประมาณ 5 นาที 4. รอจนเย็นแล้วจึงนำไปเสริฟ เวลาเสริฟสามารถเสริฟทั้งถ้วยตะไล หรือใช้ไม้พายแคะออกจากถ้วยแล้วจัดเรียงใส่จาน

ขนมหม้อแกง

สูตรขนมหวานไทย : หม้อแกง เครื่องปรุง + ส่วนผสม * ถั่วเขียว 250 กรัม (เผือก, เม็ดบัว, อื่นๆ) * น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง * หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง * น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม * เกลือป่น 1/4 ช้อนชา * ไข่เป็ด 3 ฟอง * หอมแดงซอยละเอียด 3 ลูก * ใบเตย 3 ใบ วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. นำหอมแดงไปเจียวในน้ำมันจนเหลืองและกรอบ (ระวังไหม้ ควรเจียวด้วยไฟอ่อนๆ ) 2. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกไปแช่ในน้ำและนำไปนึ่งจนสุก หรือถ้าใช้เผือกก็ปอกเปลือกและนำไปนึ่งจนสุก จากนั้นจึงนำเผือกไปยีให้เป็นชิ้นเล็กๆ 3. ในชามขนาดกลาง, ผสมไข่ น้ำตาลปี๊บและเกลือ แล้วขยำโดยใช้ใบเตยให้เข้ากันดี น้ำตาลละลายหมด จากนั้นจึงใส่หัวกะทิลงไป ขยำต่ออีกจนส่วนผสมเข้ากันดี แล้วจึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก 4. เอาถั่วหรือเผือกใส่ลงไปในส่วนผสมที่กรองแล้ว และใส่น้ำมันที่เหลือจากการเจียวหอมแดง (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี 5. นำส่วนผสมที่ได้ไปกวนด้วยไฟร้อนปานกลางในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอนก็ได้) กวนจนส่วนผสมเริ่มข้นก็พอ ถ้ากวนมากเมื่อนำไปอบจะ ไม่น่าทานเพราะจะแตกมัน ที่เรานำมากวนก็เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนผสมแยกชั้นเมื่อนำไปอบเนื่องจากไข่กับกะทิ ไม่เข้ากันดี 6. นำส่วนผสมที่กวนแล้วไปอบ โดยใส่ถาดหรือแบบที่ต้องการ ใช้ความร้อน 180 องศาเซลเซียส (360 องศาฟาเรนไฮต์) อบประมาณ 30 - 40 นาที จากนั้นจึงนำหอมเจียวไปโรยหน้าและอบต่ออีกประมาณ 5 นาที 7. ถ้าอบโดยใส่ถาดไว้ เวลาเสริฟก็ตัดแบ่งเป็นชิ้นขนาดตามความเหมาะสม ถ้าอบโดยใส่แบบอื่นๆไว้ ถ้าขนาดแบบไม่ใหญ่มาก อาจเสริฟได้พร้อมแบบทันที

ขนมกล้วย

สูตรขนมหวานไทย : ขนมกล้วย เครื่องปรุง + ส่วนผสม * กล้วยน้ำว้า 8 - 10 ลูก (ปอกเปลือกและบดให้เละ) * แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง * แป้งมัน 1/4 ถ้วยตวง * น้ำตาล 1 1/4 ถ้วยตวง * เกลือป่น 1/2 ช้่อนชา * หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง * เนื้อมะพร้าวขูด 2 ถ้วยตวง วิธีทำทีละขั้นตอน 1. นำกล้วย, แป้งข้าวเจ้า, แป้งมัน, น้ำตาล, เกลือ, หัวกะทิ และ เนื้อมะพร้าวขูด (ประมาณ 3/4 ส่วนของทั้งหมด) ผสมกัน จากนั้นนวดด้วยมือจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว 2. ตักส่วนผสมในข้อหนึ่งลงในถ้วยหรือแบบที่ต้องการ หรือจะใช้ใบตองห่อก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก เสร็จแล้วนำเนื้อมะพร้าวขูดที่เหลือโรยหน้า 3. นำไปนึ่งประมาณ 30 นาที หรืออาจนำไปอบโดยใช้ความร้อนประมาณ 180 องศาเซลเซียส (360 องศาฟาเรนไฮต์) เป็นเวลา 30 นาทีเช่นกัน 4. เมื่อขนมกล้วยสุกแล้ว ให้นำออกจากแบบ สามารถเสริฟได้ทั้งขณะร้อนหรือเย็นแล้ว

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ขนมลูกชูบ

สูตรขนมหวานไทย : ลูกชุบ เครื่องปรุง + ส่วนผสม * ถั่วเขียว 450 กรัม * น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว) * น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ (สำหรับทำน้ำวุ้น) * น้ำกะทิ 400 กรัม * วุ้นผง 3 ช้อนโต๊ะ * น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำวุ้น) * สีผสมอาหาร (อย่างน้อยแม่สี 3 สี : สีแดง, สีเหลืองและน้ำเงิน), จานสีและพู่กัน * ไม้จิ้มฟัน (สำหรับเสียบถั่วที่ปั้นแล้วเพื่อแต่งสีและจิ้มลงในน้ำวุ้น) * โฟม (สำหรับเสียบถั่วปั้นระหว่างทำ ถ้าวางบนพื้นจะเสียทรง) วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที) 2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้ว ให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า พร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี 3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว (ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น (ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้) 4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงตามใจชอบ (ผัก, ผลไม้หรือสัตว์น่ารักๆ) เมื่อปั้นเสร็จให้เสียบไม้จิ้มฟันรอไว้ ควรปั้นส่วนผสมทั้งหมดให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ถั่วที่ปั้นเสร็จแล้วควรห่อไว้ด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ 5. ผสมสีผสมอาหารตามต้องการ แล้วจึงบรรจงแต่งสีลงบนถั่วปั้นให้เหมือนจริง หรือตามแต่ความชอบ 6. ทำน้ำวุ้นโดยผสมน้ำเปล่า, ผงวุ้นและน้ำตาล ลงในหม้อ นำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง หมั่นคนอย่างสม่ำเสมอ รอจนส่วนผสมเดือด ช้อนฟองที่ลอยหน้าออก จึงหรี่ไฟลง 7. นำถั่วปั้นที่แต่งสีแล้วไปชุบในน้ำวุ้น ควรชุบประมาณ 2 - 3 ครั้ง ระหว่างชุบวุ้นต้องอุ่นน้ำวุ้นด้วยไฟอ่อนเพื่อไม่ให้วุ้นแข็ง ถ้าไม่พอก็ผสมน้ำวุ้นขึ้นใหม่ตามอัตราส่วนข้างต้น 8. นำลูกชุบออกจากไม้ิจิ้มฟัน ตัดแต่งเศษวุ้นส่วนเกินออกด้วยกรรไกร จัดใส่จาน เสริฟเป็นของว่างในวันสบายๆได้ทันที

สังขยา

สูตรขนมหวานไทย : สังขยาใบเตย เครื่องปรุง + ส่วนผสม * ใบเตยซอยละเอียด 150 กรัม * ไข่ 1 ฟอง * นมข้นจึด 2 ถ้วยตวง * น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง * น้ำตาล 200 กรัม * แป้งข้าวโพด 3 ช้อนโต๊ะ * ขนมปังหรือปาท่องโก๋ (สำหรับทานกับสังขยา) วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. นำใบเตยและน้ำเปล่าใส่ลงไปในเครื่องปั่นไฟฟ้า และปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง 2. ใส่นมข้นจึด, น้ำตาล, แป้งข้าวโพด, ไข่ และน้ำใบเตย (ที่ทำในขั้นตอนที่หนึ่ง) ลงไปในเครื่องปั่นไฟฟ้าและปั่นจน ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันเป็นเนื้อเดียว 3. นำส่วนผสมที่ได้ ไปใส่ลงในกระทะและตั้งบนไฟอ่อนๆ และคนอย่างต่อเนื่องประมาณ 20 นาที จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น 4. ตักสังขยาใส่ถ้วยแล้วโรยหน้าด้วยนมข้นจืดนิดหน่อย และจัดเสริฟพร้อมกับขนมปัง หรือปาท๋องโก๋แล้วแต่ชอบ

ข้าวเหนืยวมะม่วง

สูตรขนมหวานไทย : ข้าวเหนียวมะม่วง เครื่องปรุง + ส่วนผสม * มะม่วงสุก 3 ลูก * ข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม * หัวกะทิ 450 กรัม * เกลือป่น 3/4 ช้อนชา * น้ำตาลทราย 550 กรัม * ใบเตย 3-5 ใบ * ถั่วทอง 5 ช้อนโต๊ะ * หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำราด) * เกลือป่น 1/4 ช้อนชา (สำหรับทำน้ำราด) วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. นำข้าวเหนียวไปล้างและแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำไปสะเด็ดน้ำ 2. นำผ้าขาวบางรองไว้ในซึ้งหรือหม้อนึ่ง แล้วจึงนำข้างเหนียววางลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปนึ่งจนข้าวเหนียวสุก 3. ในหม้อขนาดเล็ก ใส่น้ำตาล, เกลือป่น (3/4 ช้อนชา) และหัวกะทิ และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงใส่ใบเตยลงไป ทิ้งไว้สักพักจึงปิดไฟ 4. ในชามขนาดกลาง ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้จนสุกดีแล้วลงไป จากนั้นจึงใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ในขั้นตอนที่สามตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันทั่ว และทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที 5. ในระหว่างที่รอ เตรียมทำน้ำกะทิราดหน้าโดย ผสมหัวกะทิ (2 ถ้วยตวง) และเกลือป่น (1/4 ช้อนชา) ลงในหม้อขนาดเล็ก และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ คนจนเกลือละลายทั่ว จึงปิดไฟ 6. ปอกมะม่วงและจัดใส่จาน เวลาเสริฟ ตักข้าวเหนียวใส่จานจากนั้นโรยหน้าด้วยน้ำราดกะทิและถั่วทอง ควรเสริฟทันทีหลังจากปอกมะม่วงเสร็จใหม่ๆ

วุ้นกะทิ

สูตรขนมหวานไทย : วุ้นกะทิี เครื่องปรุง + ส่วนผสม + ส่วนผสมตัววุ้น + * วุ้นผง 2 ช้อนโต๊ะ * น้ำเปล่า 5 1/2 ถ้วยตวง * น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง * น้ำใบเตย,น้ำกาแฟ หรือสีผสมอาหาร (จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้) + ส่วนผสมหน้าวุ้น + * วุ้นผง 2 ช้อนโต๊ะ * น้ำมะพร้าว 2 1/2 ถ้วยตวง * น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วยตวง * หัวกะทิ 2 1/2 ถ้วยตวง * แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ * เกลือ 1 1/2 ช้อนชา * แม่พิมพ์สำหรับใส่วุ้น (ถ้วยหรือชามเล็กๆ ก็สามารถใช้แทนกันได้) วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. ทำตัววุ้นโดย ใส่ผงวุ้นและน้ำเปล่า ลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไปต้มจนผงวุ้นละลาย (หมายเหตุ : สามารถใส่น้ำใบเตยเพื่อทำวุ้นกะทิใบเตยหรือ น้ำกาแฟเพื่อทำวุ้นกะทิกาแฟ หรืออาจใส่ สีผสมอาหารเพื่อให้ได้สีที่ต้องการสำหรับตัววุ้น) 2. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้ละลายดีจึงหรี่ไฟเบาลง 3. ตักส่วนผสมตัววุ้นลงไปในแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้ โดยหยอดให้ได้ประมาณ 3/4 ของแบบ และปล่อยไว้ให้วุ้นจับตัวพอตึง 4. ระหว่างรอตัววุ้นแข็ง เตรียมทำหน้าวุ้นโดย ใส่ผงวุ้นและน้ำมะพร้าว ลงในกระทะทองเหลืองแล้วนำไปต้มจนผงวุ้นละลาย 5. จากนั้นจึงใส่แป้งข้าวโพด, หัวกะทิ (ประมาณ 1/2 ถ้วยตวง) และ เกลือลงไปในส่วนผสมหน้าวุ้น คนอย่างต่อเนื่องจน ส่วนผสมละลายเข้ากัน 6. ใส่หัวกะทิที่เหลือลงไป คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงนำส่วนผสมของหน้าวุ้นไปหยอดใส่พิมพ์ให้เต็มอย่างปราณีต (พิมพ์ต้องใส่ตัววุ้นก่อน และต้องรอจน ตัววุ้นแข็งพอตึงๆก่อน มิเช่นนั้นตัววุ้นและหน้าวุ้นจะผสมกัน) 7. เมื่อหน้าวุ้นและตัววุ้นแข็งดีแล้วก็ให้เคาะออกจากแบบ จัดใส่จานและเสริฟได้ทันที

ขนมหวาน

สูตรขนมหวานไทย : กล้วยบวดชี เครื่องปรุง + ส่วนผสม * กล้วยน้ำว้า 8 ลูก (เลือกห่ามๆ ไม่สุกมาก) * หัวกะทิ 450 มิลลิลิตร * หางกะทิ 500 มิลลิลิตร * ใบเตย 2 ใบ * น้ำตาลปี๊บ 40 กรัม * น้ำตาลทรายขาว 40 กรัม * เกลือ วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน 1. นำกล้วยไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 3-5 นาที หรือนึ่งจนกระทั่งผิวกล้วยเริ่มแตกออก จึงปิดไฟและนำออกมาปอกเปลือกและหั่นครึ่งลูก จากนั้นจึงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 2. นำหางกะทิไปต้มในหม้อและใส่ใบเตยลงไปด้วย เมื่อเดือดแล้วจึงใส่กล้วยที่หั่นไว้แล้วลงไป ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ, น้ำตาลทรายขาวและเกลือนิดหน่อย 3. เมื่อกะทิเริ่มเดือดอีกครั้งจึงใส่หัวกะทิลงไป และปล่อยทิ้งไว้ให้เดือดอีกประมาณ 3 นาที ถ้าต้องการให้น้ำข้นเหนียวก็ให้ใส่แป้งมันลงไปประมาณ 1 ช้อนชาและคนให้ละลายทั่ว 4. อย่าต้มนานจนเกินไปเพราะจะทำให้กล้วยเละ กล้วยควรจะยังแข็งนิดหน่อย จากนั้นตักใส่จานและเสริฟทันที (สำหรับ 2 ท่าน)

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา ไอบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) [1] คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4] คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เนื้อหา 1 ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์ 1.1 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด 2 ประเภทของคอมพิวเตอร์ 2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) 2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) 2.3 มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) 2.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC) 2.5 โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop) 2.6 เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop) 2.7 อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook) 2.8 แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer) 3 ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ 4 อ้างอิง 5 แหล่งข้อมูลอื่น 6 ดูเพิ่ม ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์ มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น[5] คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล[6] ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น[7] ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย[8] นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล[9] ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด[10] ราวๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง)[11] ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใดๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย) [12] ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล[13] เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์[14] เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น[15] ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ[16][17] และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา[18] นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์[19] ขึ้นได้โดยบังเอิญ[20] ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ประเภทของคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC) ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop) โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop) เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา อัลตร้าบุ๊ค (Ultrabook) อัลตร้าบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และมีขนาดเท่ากับโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ และน้ำหนักเบากว่าโน้ตบุ๊ค และเน้นความสวยงาม ทันสมัย แปลกใหม่ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer) แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม [21] ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์ งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล ด้านนันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม